เชื้อรากับหมวกนิรภัย
การทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนแบบโครงสร้าง อาคารสถานที่ หรือการดูแลอุปกรณ์ ต่างๆ การทำงานของผู้ปฎิบัติงานต่างก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่ออันตรายจากการทำงานในสถานที่ทำงานได้เสมอ อันตรายจากการทำงานนั้นอาจมาจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือ อาจเกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่มีความปลอดภัยก็ได้ และเพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานมีความปลอดภัยขณะทำงาน การป้องกันตัวบุคคลจากอันตรายจากการปฎิบัติจึงจำเป็นจะต้องมี อุปกรณ์ป้องกันอันตราย และนี่คือที่มาของ เหล่าอุปกรณ์นิรภัย ต่างๆค่ะ
หมวกนิรภัยเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มบุคคลที่ต้องทำงานภายใต้ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงในสถานที่ทำงานไปแล้วในยุคสมัยนี และดูเหมือนว่า การใส่หมวกนิรภัยทุกครั้งที่เข้าปฎิบัติงาน จะกลายเป็นข้อบังคับไปเสียแล้ว ซึ่งก็เป็นผลดีต่อผู้ปฎิบัติไปด้วยหมวกนิรภัยมีไว้ป้องกันศีรษะจาก การกระแทก ชน จากสิ่งของและวัสดุต่างๆ หรือที่ตกจากที่สูง มากระทบศีรษะ เปลือกนอกของหมวกทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงและทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป มีความทนทาน น้ำหนักเบา มีทั้งแบบ มีขอบเหล็กโดยตรง และ แบบที่มีเฉพาะกระบังด้านหน้า ลักษณะที่ดีของหมวกนิรภัย นั้นจะต้องไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา มีสายรัดคางที่ได้มาตราฐาน และมีแถบซับเหงื่อ
การดูแลรักษาและการทำความสะอาด หมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยของส่วนบุคคล แน่นอนว่า หากใช่ร่วมกับผู้อื่น ก็ควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพราะส่วนประกอบของหมวกนิรภัยที่ทำหน้าซับเหงื่ออย่าง แถบซับเหงื่อนั้น เมื่อโดนเหงื่อและความชื้น มีการหมักหมมล่อยไว้ไม่มีการทำความสะอาด หรือผึ่งแดด ฆ่าเชื้อเลย ก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารของแบททีเรีย หรือเชื้อราทันที และเชื้อรานอกจากจะสามารถเจริญเติบโตอยู่ในที่อับชื้นแล้ว ยังสามารถแพร่และเจริญเติบโตได้ดีบนหนังศีรษะของเราอีกด้วย เพราะ บนหนังศีรษะของเรา มีทั้ง คราบไขมัน เซลเก่าของหนังศีรษะ เหงื่อ ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะของแบททีเรีย เมื่อจำนวนแบททีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลต่อเส้นผมและหนังศีรษะ คือจะก่อให้เกิด กลิ่นอับชื้น อาการคันหนังศีรษะ ผมร่วง ในบางรายหนังศีรษะอักเสบ และหนังศีรษะล้านเลยก็มีนะคะ ซึ่งหากคุณไม่อยากให้เหตุการณนี้เกิดขึ้นกับคุณ ก็ควรมีการดูแลรักษาความสะอาดให้กับหมวกนิรภัยของคุณค่ะ
- หากไม่แน่ใจว่าเพื่อนคุณเป็นรังแค หรือเชื้อราบนหนังศีรษะ และเพื่อคามปลอดภัยจากการสัมผัสเชื้อรา พยายามหลีกเลี่ยงการใช้หมวกร่วมกับใคร
- หากจำเป็นต้องสวมหมวกในการทำงานทุกวัน ควรมีหมวกไว้อย่างน้อย2ใบ เพื่อสลับใช้และทำความสะอาด
- หลังจากการใช้งาน ควรนำหมวกไปผึ่งแดด เพื่อระบายความอับชื้น
- การทำความสะอาดควรเช็ดทั้งข้างนอกและภายในหมวก และควรใช้น้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้คราบเหงื่อและสิ่งสกปรกซักออกง่ายขึ้น
- ควรมีน้ำยาหรือเสปรย์ฆ่าเชื้อราสำรองไว้ ในกรณีที่อากาศไม่เอื้อต่อการทำความสะอาด หรือ ไม่มีแดดให้ผึ่ง
TIPS: แถบซับเหงื่อขอหมวกนิรภัย ส่วนใหญ่ทำมาจาก ใยสังเคราะห์ มีคุณสมบัติในการดูดซับเหงื่อและความชื้นได้ดี ดังนั้น จึงเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบททีเรียและเชื้อราอย่างดี ซะนั้นการทำความสะอาด ควรเน้นทำให้แถบซับเหงื่อแห้งสนิทที่สุด เพื่อป้องกัน ปัญหาเชื้อรา ผมร่วง ผมบาง ในอนาคตค่ะ