ปัญหาผมร่วง เกิดขึ้นกับวัยใดได้บ้าง?
ปัญหาผมร่วง ผมบาง นั้น นอกจากจะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศแล้ว ยังเกิดขึ้นได้กับทุกวัยด้วยนะคะ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่อย่างเดียว เด็กก็สามารกเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ ปัญหาเกี่ยวกับผมและหนังศีรษะแต่ละวัย จะแตกต่างกันออกไป โดยมี ฮอร์โมน อาหาร สิ่งแวดล้อมของอากาศ สภาพบางอย่างของโรค และ สารเคมี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ในแต่ละบุคคลมีสภาพปัญหาเกี่ยวกับ เส้นผมและหนังศีรษะ ไม่เหมือนกันค่ะ
ในเด็กเล็ก หรือ ทารก
1.ภาวะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมของเด็กที่ถูกสร้างตั้งแต่อยู่ใรครรภ์ยังเป็นผมอ่อน และอ่อนแอมาก หากถูกเสียดสีด้วยเบาะนอน หมอน ก็จะเกิด ปัญหาผมร่วงได้ง่ายขึ้น พบตั้งแต่อายุ 3-4 เดือน ละจะหยุดร่วงในอายุ 6 เดือน การร่วงในลักษณะนี้ เป็นการผลัดผมที่อ่อนแอออกแล้วขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ ผมที่งอกขึ้นมาใหม่ จะมีความแข็งแรงและมีสีเข้มขึ้น ตามกรรมพันธุ์ของพ่อและแม่
2.การเจ็บป่วยของเด็ก เช่น ภาวะของโรคทางออโตอิมมูนระดับฮอร์โมน และทางระบบพันธุกรรม ลักษณะคือ ผมจะร่วงเป็นหย่อมหรือทั้งศีรษะ หรือ การที่เด็กมีไข้สูงหรือป่วยมาก ทำให้ผมหยุดการเจริญเติบโต แต่เมื่อหายป่วยแล้ว ผมก็จะขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม
3. การทำความสะอาดไม่ดีพอ ทำให้เกิดการอับชื้น จนเกิดเชื้อรา เมื่อเชื้อราเข้าไปทำลายรากผมเสียหาย อาจทำให้ผมร่วง และไม่สามารถขึ้นมา หากสงสัยว่าเชื้อราเกิดขึ้นกับหนังศีรษะของเด็ก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อ หาวิธีรักษาโดยเร็ว
ในวัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่
พบว่า กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้ใหญ่ จะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะโดยมาจาก
1. การแพ้สารเคมี คือกลุ่มยาดัด ยายืดและยาเปลี่ยนสีผม
คนส่วนใหญ่ นิยมเปลี่ยนสีผม บ้างก็ยืดผม ดัดผม โกรกผมปกปิดผมขาว สารเคมีเหล่านั้นจะสารกัดกร่อนรุนแรง ออกฤิทธิ์ทำร้ายผมและหนังศีรษะโดยตรง เมื่อลงลึกไปถึงชั้นใต้ผิวและรากผม ทำให้ รากผมอ่อนแอ และเกิด ปัญหา ผมหงอกก่อนวัย และ ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในที่สุด
2. ผลข้างเคียงจากการ เจ็บป่วยด้วยโรคบางโรค และจากการใช้ยาบางชนิดรักษา
เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรค SLE (ลูปัส) โรคของต่อมธัยรอยด์ และการทำคีโมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการทำคีโม และผลจากการได้รับยาคีโมนี้นอกจากจะไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้วยังทำลายเซลล์ที่เติบโตไวภายในร่างกายอื่นๆ ที่ทั้งเซลล์รากผม
นอกจากนี้ สาเหตุของผมร่วง ยังเกิดขึ้นได้จากสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในยาไปทำปฏิกิริยากับเซลล์รากผมทำให้ทำงานผิดจากปกติไป หรือไปรบกวนวงจรการเติบโตของผม เช่น ยาต้านเบต้า ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคเก๊าฑ์ ยาลดความดัน ยารักษาสิว ยารักษาอาการซึมเศร้า และยาแก้ปวด เป็นต้น ยาเหล่านี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเส้นผมบนศีรษะ รวมไปถึงขนในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้บางลง เปลี่ยนสี หรือทำให้หยิกขึ้นได้อีกด้วย
ในวัยทอง หรือ ผู้สูงวัย
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
นักวิจัยค้น พบว่า ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) เป็นฮอร์โมนในเพศชาย กลุ่มเทสโทสเตอโรน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม ในกลุ่มวัยทอง และ ผู้สูงอายุ แต่ไม่มีผลกับกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า 45-50 ปี ฮอร์โมนตัวนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการร่วงของเส้นผม เฉพาะในผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายมีความสามารถในการหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ได้น้อยลงจึงทำให้ฮอร์โมน DHT ทำปฏิกิริยากับรากผม ส่งผลให้ผมบางลง และร่วงอย่างถาวร โดยปกติผมของคนเราย่อมหลุดร่วงเป็นประจำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว แต่ก็จะขึ้นมาใหม่แทนเส้นเก่าที่หลุดร่วงไป แต่ในกณีของผู้สูงอายุผมที่หลุดร่วงไปจะไม่มีการงอกขึ้นแทนที่ใหม่ทำให้ศีรษะบางลงเรื่อยๆ